Refractive Management of Compound myopic Astigmatism By Single Vision
การแก้ปัญหาสายตาสั้นและเอียง ด้วยเลนส์สายตา Single Vision
ประวัติคนไข้
คุณ W.L. เพศชายวัย 34 ปี เข้ามาปรึกษาด้วยอาการ ขับรถในเวลากลางคืนมองเห็นไม่ชัด เห็นแสงไฟแตก ต้องหรี่ตาลงจึงจะมองเห็นชัดขึ้น เป็นมา 1 ปี ไม่เคยใช้งานแว่นตามาก่อน กลางวันมองเห็นได้ปกติ ส่วนมากใช้งานสายตาในการขับรถทางไกล และเล่นมือถือเกือบทั้งวัน ซึ่งมองระยะใกล้ไม่มีปัญหาอะไร ไม่มีประวัติทางดวงตาอื่นๆ
Preliminary Test
ตาเปล่า
OD. 20/20 -1
OS. 20/20 -2
OU. 20/20 -1
COVER TEST : Normal
Refraction
Retinoscope
OD. Plano -0.50 x90 VA.20/20
OS. -0.25 -0.50 x90 VA.20/20
Monocular Subjective ( Phoroptor )
OD. -0.75 -0.50 x85 VA.20/10-2
OS. -0.50 -0.50 x80 VA.20/10
BVA
OD. -0.75 -0.50 x85 VA.20/10-2
OS. -0.50 -0.50 x80 VA.20/10

Functional ; Vergence and Accommodation
Test@6m.
Associate Phoria : 0
Horizontal Phoria : Normal
Vertical Phoria : Normal
Test@40cm. ; normal
BCC. +0.50 D.
NRA. +2.50 D. / PRA. -2.50 D. ( Rely on BCC )
AC/A ratio 2 : 1

Treatment
Prescription Tunning BVA ( Freespace )
OD. -0.75 -0.50 x80 VA. 20/10
OS. -0.75 -0.50 x80 VA. 20/10
Lens : Rodenstock Single Vision Cosmolit 1.60 PRO410 Solitare Protect Plus2 X-tra Clean
Models : STEPPER SI 4212W-F021

ประเมินผล
1. Compound Myopic Astigmatism Both eye
2. Lag of Accommodation
3. Normal Ocular Health

พิจารณาเคส
1. เคสนี้ มองด้วยตาเปล่าในระยะไกลระดับการมองเห็นถือว่าอยู่ในเกณฑ์เกือบดี อ่านตัวอักษรขนาด 20/20 ผิดไปบางตัวเท่านั้น แต่ภายหลังตรวจสายตา พบปัญหาสายตาสั้นชนิดที่มีค่าสายตาเอียงร่วมปริมาณไม่มาก และปริมาณเท่ากันโดยบังเอิญทั้งสองตา ซึ่งพบเจอเคสแบบนี้ได้ไม่บ่อย ถ้าตรวจได้ถูกต้องจริงๆ Corrected แล้ว ระดับการมองเห็นดีกว่าเกณฑ์ปกติที่ 20/10 ( ดีกว่าเกณฑ์ปกติ 50% )
2. ค่า BCC +0.50 D. ส่วนค่า NRA/PRA เข้าเกณฑ์ปกติ เคสนี้ มีภาวะเรียกว่า lag of accommodation ซึ่งได้เขียนในประเด็นนี้มาบ่อยแล้ว ตามอ่านได้ในเคสเก่าๆ ดังนั้นในส่วนนี้มีความเห็นว่าไม่ต้องจัดการอะไร
พิจารณาจ่ายเลนส์สายตาชนิด Single Vision จำนวนเต็มกำลังสายตาเท่าที่ตรวจได้ ( Full Corrected ) เพื่อแก้ปัญหาการมองเห็นให้คนไข้ ใช้รุ่นเลนส์ Single Vision Cosmolit 1.60 PRO410 จากค่าย Rodenstock
ซึ่งตัวกรอบแว่นตาแบรนด์ STEPPER รุ่น 4212 W-F021 เป็นกรอบแว่นตาที่ต้องใช้เลนส์รับแรงยึดในการประกอบเป็นแว่น แบบที่ต้องเจาะชนิดใช้ปุ๊กพลาสติกยึด ดังนั้นเลนส์ที่จะใช้ได้นั้นจำเป็นต้องมีความเหนียว จึงเลือกจ่ายเลนส์ เนื้อดัชนีหักเหแสง 1.60 ซึ่งเป็นพลาสติกชนิด MR-8 โดยใช้ประโยชน์ จากคุณสมบัติที่เลนส์มีความเหนียว ทนทานต่อการประกอบที่มีการเจาะเข้าไปในเนื้อเลนส์
ส่วนตัวเลนส์ PRO410 ไม่ใช่ Coat ที่เคลือบบนผิวเลนส์ แต่จะผสมสารชนิดหนึ่งลงไปในเนื้อเลนส์ เพื่อป้องกันรังสีที่ตามองไม่เห็นคือ UVA และ UVB ทั้งยังป้องกันคลื่นแสงพลังงานสูงซึ่งเป็นอันตรายต่อดวงตาโดยตามองเห็นได้ด้วย (ความยาวคลื่นแสง 380 – 410 นาโนเมตร) โดยจะ Cut Off แสงความยาวคลื่นต่ำกว่า 410 นาโนเมตร ลงมา และยอมให้แสงความยาวคลื่นที่สูงกว่า 410 นาโนเมตร เข้าสู่ตาได้ ซึ่งในการรับรู้ภาพ และรับรู้สีจะไม่ผิดเพี้ยน สีของเลนส์ PRO410 นั้นจะไม่ติดสีเทาและไม่เหลือง ดังเช่น เลนส์ประเภท Blue Block หรือ เลนส์ตัดแสงสีฟ้า ซึ่งเลนส์ Blue Block มีผลทำให้แยกสีบนมือถือ หรือ จอคอมพิวเตอร์ ผิดเพี้ยน

สรุปและติดตามผล
เคสนี้ไม่เคยสวมแว่นตา มาก่อน เมื่อแรกรับจึงมีการมึนงง รู้สึกมองเห็นได้ชัด แต่มิติภาพที่รับรู้ไม่เหมือนเดิม ภายหลังนำแว่นตาไปใช้งาน และปรับสายตาประมาณ 1 สัปดาห์ คนไข้ใส่แว่นได้ตลอดเวลา เพราะคนไข้แจ้งว่าขับรถเวลากลางคืนมองเห็นได้ชัดปกติ ซึ่งมักจะเจอได้บ่อยในเคสที่มีปัญหาสายตาสั้นและเอียงไม่มากนัก แต่จะมีปัญหาการมองเห็นมากๆในการขับรถเวลากลางคืน ดังนั้นเคสนี้แก้ปัญหาด้วยแว่นตา สามารถตอบโจทย์ ตาม Chief Complain และคนไข้ได้แจ้งว่า ช่วยเสริมบุคลิกภาพได้ดีมาก จึงสวมใส่ตลอดเวลา
ขอบคุณสำหรับการติดตาม
Chatchawee,O.D.,BS.(RT)
*** อนึ่ง ข้อคิดเห็น และหลักการวินิจฉัย ในประเด็นต่างๆของเคสนี้ และเคสอื่นๆที่ผ่านมานั้น ผู้ตรวจพิจารณาจากความรู้ และประสบการณ์ที่สั่งสมมา โดยอ้างอิงจากหลักวิชาการในศาสตร์ทางทัศนมาตร ของผู้ตรวจเท่านั้น **โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน

การคีย์ Order ชนิดเลนส์ ระบุ ค่าสายตา

