The Art and Science in Optometric Communication.
ศาสตร์ และ ศิลป์ ในการสื่อสารทางทัศนมาตร
**โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน **
ผู้เขียนแปลข้อความจาก Text Book ภาษาอังกฤษ เพื่อให้เหมาะสมกับบริบทสังคมไทย โดยใช้วิจารณญาณของผู้เขียนเอง
วัตถุประสงค์บทความ
1. นำเสนอข้อมูลเชิงสร้างสรรค์ เรื่อง ART & SCIENCE ในแง่มุมการสื่อสารเพื่อประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์
2. สื่อสารไปยังผู้สนใจในศาสตร์ทางทัศนมาตร ให้มีความเข้าใจมากขึ้น
อ้างอิงจากตำรา Diagnostic Procedures โดย Dr. Richard E. Meetz. Professor จาก Indiana University School of Optometry โดยแปลความตามความเข้าใจของผู้เขียน
ศิลป์ ( ART ) ในทางทัศนมาตร
คือ วิธีการแนะนำ ผู้ป่วย ซึ่งมีความสำคัญพอๆกับสิ่งที่เราร้องขอให้ผู้ป่วยทำ รวมไปถึงสำคัญเท่าๆกับการรายงานผลการตรวจ
การให้คำแนะนำเหล่านั้นเป็นศิลปะ โดยมีพื้นฐานขึ้นอยู่กับ
- ระดับศักยภาพ ในการทำความเข้าใจเรื่องราวต่างๆ ซึ่งมีความแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละคน
- สไตล์ และบุคลิกภาพ ของทัศนมาตรผู้ตรวจคนนั้นๆ

Part Time CL Consultant in 2016
ศาสตร์ ( SCIENCE ) ในทางทัศนมาตร
คือ กระบวนการปฏิบัติทางทัศนมาตร มีหลักวิชาการมาตรฐานในการปฏิบัติงานคอยกำกับอยู่ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน ระหว่างทัศนมาตร ด้วยกัน ( น่าจะมีประโยชน์ ในแง่การทำงานร่วมกันเอง และการสื่อสารไปยังสหสาขาวิชาชีพอื่น )
เบื้องต้น ทัศนมาตรจะต้องเข้าใจ “ที่มาและที่ไปของหลักวิชาการมาตรฐานทางทัศนมาตร” เป็นอย่างดี เพื่อนำไปปรับใช้ในการทำงานด้านทัศนมาตร ให้เหมาะสมกับตนเอง

ออกหน่วยตรวจสายตาแก่เด็กนักเรียน ณ ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ปี 2016
ทัศนมาตรไม่ควรคิดไปเองว่า คนไข้จะเข้าใจสิ่งที่ทัศนมาตรสื่อสาร เช่น ในระหว่างการตรวจระบบการมองเห็น มีผลตรวจบางอย่าง ไม่เป็นไปตามที่ผู้ตรวจคาดหวัง เช่น ผู้ป่วยไม่เข้าใจสิ่งที่ทัศนมาตรให้ทำ เป็นต้น ผู้ตรวจควรจะ Control คนไข้ให้ดี และทดสอบสิ่งนั้นซ้ำ
ความเห็นผู้เขียน
โดยสรุปแล้ว ศาสตร์และศิลป์ในการสื่อสารกับผู้ป่วยในทางทัศนมาตรนั้น น่าจะเป็นการประยุกต์ใช้คำพูด และการตรวจ โดยอิงหลักเกณฑ์มาตรฐานวิชาการทางทัศนมาตร มาใช้ในการปฏิบัติต่อคนไข้ ยกตัวอย่าง เช่น ตั้งแต่เริ่มกระบวนการตรวจ คือ การซักประวัติทางตา เพื่อกำหนดเป้าหมาย ออกแบบการตรวจ และรวมไปถึงพยากรณ์โรคก่อนที่จะวินิจฉัยได้
การตรวจ Refraction และ Binocular Function ต้องมีพื้นฐานความรู้ทางทัศนมาตร และประสบการณ์ ในการใช้คำพูดเพื่อร้องขอ ให้ผู้ป่วยร่วมมือปฏิบัติตาม ในขณะตรวจ ร่วมกับการตรวจ ( การกระทำ ) ต่อคนไข้ ให้เหมาะสม และมีมารยาท เพื่อให้ได้ผลการตรวจที่แม่นยำ ความคลาดเคลื่อนต่ำ

ออกหน่วยตรวจสายตา และสุขภาพตาแก่เด็กนักเรียน จ.สิงห์บุรี ปี 2015
ในการ สื่อสารเพื่ออธิบายผลการตรวจ และ ให้คำแนะนำในการแก้ไขปัญหาการมองเห็นนั้น ควรเป็นภาษาพูดที่ชัดเจน เข้าใจง่าย และสื่อสารสิ่งที่ปรากฏในปัจจุบันตามความเป็นจริง โดยอ้างอิงหลักวิชาการทางทัศนมาตร
Reference
Meetz R.E. ,OD,Ms. Diagnostic procedures. Bangkok : IU-RU Doctor of Optometry Program, Ramkhamhaeng University ; n.d.
Content by Chatchawee,O.D.,Bs.(RT)
