Optometrist ≠ glasses sellers

ทัศนมาตร ≠ ขายแว่น

ตามหัวข้อ และกล่าวตรงไปตรงมา กล่าวถึง กันทั้ง เพจนี้และเพจอื่น PR จากรั้วมหาวิทยาลัยต่างๆ มาหลายปี ว่าทัศนมาตร ตาม พรบ.การประกอบโรคศิลปะ เป็นวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง กับการตรวจวินิจฉัยปัญหา สายตา และการมองเห็นของมนุษย์ โดยใช้การรักษา ด้วยการจ่ายเลนส์ และอุปกรณ์ช่วยมองต่างๆ จะส่งต่อแพทย์ตามความเหมาะสม ต่อเมื่อ งานรักษานั้น ไม่ได้อยู่ในขอบข่ายของทัศนมาตร ตามที่กฎหมายกำหนด เช่น จ่ายยารักษาโรคตา หัตถการผ่าตัดต่างๆเกี่ยวกับดวงตา หรือการผ่าตัดรักษาสายตา LASIK เป็นต้น

ดังนั้น ทัศนมาตร ปริญญา Doctor of Optometry มีฐานะเป็น Clinician ไม่ใช่ Technician ไม่ได้ทำงานเป็นผู้ช่วยใคร แต่การที่มีบทบาทเป็นผู้ช่วย ใครนั้น ไปตั้งบริบทของงานกันเอง เรื่องนี้ ผมคงไม่ไปข้องเกี่ยว เพราะส่วนตัวทำงาน คนเดียว ไม่ได้เป็นลูกน้องใคร และเวลาตรวจคนไข้ ก็ตรวจวินิจฉัย รักษา ไปตามที่กฎหมายกำหนด อันไหน บทบัญญัติเกินขอบข่ายการรักษาปัญหาการมองเห็นของทัศนมาตร ก็เขียนจดหมายส่งต่อให้แพทย์ เฉพาะทางโรคนั้นๆ พิจารณารักษา
 
งานหนึ่งในการรักษาปัญหาการมองเห็น ที่กระทำได้โดยทัศนมาตร คือ การแก้ไขปัญหาสายตาโดยการจ่ายเลนส์สายตา และอุปกรณ์ช่วยในการมอง แว่นตา จึงเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ชิ้นหนึ่ง ในการรักษาการมองเห็น แต่ก่อนจะได้แว่นตาอันหนึ่ง ควรจะได้รับการตรวจตามขั้นตอนที่ถูกต้อง
 
จากประสบการณ์ส่วนตัว ผมมีความเห็นว่า สาขาวิชาชีพด้านการแพทย์อื่นๆ เกิดขึ้นมาจากความต้องการด้านสาธารณสุข ซึ่งคนไข้ต้องได้รับการรักษาพยาบาล ในสถานพยาบาล และต้องได้รับบริการทางการแพทย์ ที่ได้มาตรฐาน การประกอบวิชาชีพในแต่ละสาขา อย่างดีที่สุด แต่สาขาทัศนมาตร จุดเริ่มต้นมาจากร้านค้าแว่นตาพาณิชย์ ที่ประกอบกิจการค้าขายแว่นตา และเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ได้ส่ง บุตร หลาน เข้าไปศึกษาศาสตร์ของทัศนมาตร เพื่อ มาพัฒนาวงการแว่นตา แต่ว่ากันตรงๆ น่าจะเอา ทัศนมาตร มาเป็นจุดขายทางการตลาด เพื่อส่งเสริมการขาย เพื่อเพิ่มยอดขาย ให้ร้านแว่นตาของตนมากกว่า
 
เพื่อเป็นการเพิ่มภาพลักษณ์ ให้ร้านแว่นตา จึงกำเนิดวลีว่า หมอสายตา , ตรวจสายตาโดยนักทัศนมาตร ( บางที่ตรวจสายตาฟรีโดยนักทัศนมาตร ) แต่ลักษณะการทำงานไม่ต่างจากเดิม เช่น วัดสายตา 15-20 นาที เอาเวลาที่เหลือไปเชียร์ขายเลนส์ , ใช้วิธีการจัดสายตา ฯลฯ และใช้วิธีการจัดโปรโมชั่น เพื่อเรียกลูกค้าเข้าร้าน เช่น โปรโมชั่น กรอบ+เลนส์ ราคา xxx บาท หรือราคาอื่นๆ เป็นต้น
 
ขยายความ ข้อ1 อ้างจากประกาศคณะกรรมการการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา พ.ศ.2565 ข้อ ๔.๒.๒ สาขาวิชาทางด้านวิชาชีพ ซึ่งมีระดับปริญญาตรีเป็นปริญญาสูงสุด ให้ใช้ชื่อ ปริญญาตามสาขาวิชานั้นๆ เป็นหลักในระดับชั้นปริญญาตรี (๒) สาขาวิชาทัศนมาตร ( Optometry ) ให้ใช้ชื่อปริญญาในระดับปริญญาตรีว่า ทัศนมาตรศาสตร์บัณฑิต (Doctor of Optometry)
 
ดังนั้นคำว่า หมอสายตา จึงไม่มีอยู่ในบทบัญญัติใดๆ ไม่มีปริญญา Doctor of Refraction จึงไม่มีสาขาวิชา Refractionist ตามความเห็นของผม คำนี้จึงเป็นคำที่อุปโลกน์ ขึ้นมาเอง ของผู้ใดไม่ทราบได้ เพื่อให้ประชาชน เข้าใจว่าเป็นบุคลากรด้านการแพทย์ แต่แฝงไปด้วยความประสงค์อยากจะค้าขายแว่นให้ได้ยอดดีขึ้น จึงใส่คำว่า หมอ เข้าไป ก่อนหน้าคำว่า สายตา และให้ดูน่าเชื่อถือ มากขึ้น กว่าร้านแว่นตาเดิม ดังนั้น คำว่า หมอสายตา ใครจะเอาไปใช้เพื่อเป็น Marketting wording คงจะไม่ได้ผิดกฎหมายอะไร แม้ไม่ได้จบ ปริญญา ทัศนมาตรศาสตร์บัณฑิต ก็ตาม
 
ขยายความ ข้อ2 ตรวจสายตาฟรีโดยนักทัศนมาตร ถามคุณผู้อ่านจริงๆ ท่านเชื่อว่า ของฟรีและดี มีอยู่ในโลกนี้จริงหรือไม่ เช่น ซ่อมรถยนต์ ยังมีค่าแรงช่างซ่อม , ตรวจสุขภาพ ยังมี ค่าตรวจแพทย์ , ค่าตรวจทางเทคนิคการแพทย์ , ค่าวิชาชีพพยาบาล และอื่นอีกมากมาย ฯลฯ เป็นต้น “ตรวจสายตาฟรีโดยนักทัศนมาตร” จึงเป็น Gimmick ทางการตลาดเพื่อเรียกลูกค้าเสียมากกว่า เพราะเมื่อพิจารณาว่าต้นทุนในวิชาชีพนี้ ต้องผ่านการศึกษาจากภาคการศึกษา 6 ปี 12 เทอม มีค่าใช้จ่าย ค่ากิน , ค่าเดินทาง ,ค่าที่พัก ระหว่างการศึกษา ไม่รวมถึงการต้องสอบให้ได้ใบอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะ เสียเวลา แรงกาย แรงใจ มากพอสมควร แสดงว่า ผู้ที่ใช้วลีนี้เพื่อเรียกลูกค้า อาจจะ 1. เป็นเจ้าของกิจการที่ลงทุนร้านแว่นตาจ้างนักทัศนมาตรมาทำงาน ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่ไม่ได้อินอะไรกับวิชาชีพนี้ เพียงแต่ต้องการยอดจากการขายแว่นตา โดยมีนักทัศนมาตรมาเป็นจุดขาย 2. หากนักทัศนมาตรเป็นเจ้าของร้านแว่นตา และใช้คำนี้เสียเอง แสดงว่าเขากำลังดูถูกวิชาชีพ ดูถูกตนเอง เพราะไม่ผิดอะไรถ้าไม่ respect วิชาชีพตนเอง แต่ไม่ควรอาศัยชื่อปริญญาและวิชาชีพนี้ เป็นช่องทางทำมาหากินแบบ Cheating และทำลายอุดมการณ์ของเด็กทัศนมาตรรุ่นใหม่
 
ขยายความ ข้อ3 การจัดสายตา เป็นอวิชชา ตัวบ่อนทำลายวิชาชีพทัศนมาตรที่สำคัญ เพราะเรื่องนี้ ไม่ต้องจบทัศนมาตร ก็จัดสายตาได้ ผู้ใด จะจัดสายตาให้ค่าสายตา ใคร ใช้เครื่องมือใด สถานที่ใด จ่ายเลนส์ประเภทใด ค้าขายที่ไหน ผู้บริโภคใช้งานได้ ไม่ได้ ไม่สนใจ ขายแว่นได้เงินไว้ก่อน เรื่องนี้ไม่ผิดอะไร เพราะไม่มีกฎหมายหรือข้อบังคับใดกำหนด แต่ตัวทัศนมาตรเอง เรียนมามากมาย ถึงเวลาทำงานจริง ตรวจสายตา ได้ค่าหนึ่ง จ่ายอีกค่าหนึ่ง คำถาม คือ ถ้าทำงานแบบนั้น จำเป็นต้องเรียนทัศนมาตร หรือ ทัศนมาตร มีความจำเป็นต่อระบบสาธารณสุขของประเทศไทยหรือไม่
 
ขยายความ ข้อ4 โปรโมชั่น กรอบพร้อมเลนส์เริ่มต้น xxx บาท หรือ ราคา อื่นๆ เรื่องนี้วงการค้าแว่นตา อาจจะดูปกติมาก แต่พอไปติดแบรนด์ทัศนมาตร ในความเห็นของผม ดูผิดปกติไปทันที เพราะ ต้นทุนในการ set คลินิกทางทัศนมาตร เครื่องมือที่ใช้ตรวจ ค่าเทอมทัศนมาตร วิชาความรู้ที่ศึกษามา จากที่ได้กล่าวมามากแล้ว ( ในกรณีต้องการให้งานทุกมิติออกมาดี ) ไม่น่าจะ cover กับการลงทุนที่สูงมากๆ ดังนั้น “การตรวจฟรีโดยนักทัศนมาตร หรือ หมอสายตา โปรโมชั่นกรอบพร้อมเลนส์ เริ่มต้น xxx บาท “ นั้น อ่านและฟัง ดูแล้วเป็นคำโฆษณา เพื่อล่อ เหยื่อ ให้มาติด กับดัก เพื่อมารับบริการ และ พยายาม เชียร์อัพ ผู้มารับบริการให้จ่ายในราคาแพง เสียมากกว่า
 
สรุป ขยายความ จาก ข้อ1 ถึง ข้อ4 ผู้ให้บริการในลักษณะนี้ จะไม่เน้นผลลัพธ์จากการตรวจในทางคลินิก ใช้เวลาในการวัดตา,วัดแว่น ( ศัพท์ที่ผู้ให้บริการกลุ่มนั้นนิยมใช้กัน ) มากที่สุดไม่เกิน 15-20 นาที แต่จะใช้เวลามากที่สุดไปกับการเชียร์ขายแว่นตา และเลนส์สายตา เพื่อให้ผู้รับบริการซื้อสินค้า
 
ปฏิเสธไม่ได้ ว่าทัศนมาตร เกี่ยวข้องกับธุรกิจ แว่นตา เพียงแต่ แว่นตาคืออุปกรณ์ช่วยในการรักษาการมองเห็น ซึ่งเป็นหนึ่ง ในแนวทางการแก้ปัญหาการมองเห็นของวิชาชีพทัศนมาตร เพียงเท่านั้น ( ไม่รวมผู้สวมใส่เพื่อความสวยงาม ) ความคิดเห็นของผมคือ ถ้าใครสักคนหนึ่งต้องการเข้าถึงการแก้ไขปัญหาการมองเห็นที่มีคุณภาพ เขาควรเริ่มต้นตามลำดับนี้
 
ข้อ๑. ตรวจหาปัญหาการมองเห็น ตามขั้นตอนด้วยวิธีการและเครื่องมือ สถานที่ตรวจ รวมไปถึงผู้ให้บริการ ที่มีคุณภาพ
 
ข้อ๒ พิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหา เช่น มีปัญหาสายตา สั้น ยาว เอียง สายตาชรา ตาเหล่ซ่อนเร้นที่มีหรือ ไม่มีภาพซ้อน ก็พิจารณาเลือกเลนส์แว่นตา และกรอบแว่นสายตา ที่เหมาะสม , วินิจฉัยแล้วปัญหามองเห็นได้ไม่ดีเกิดจากโรคตาหรือโรคทางกายบางชนิด ก็ไปพบแพทย์เฉพาะทางโรคนั้นๆ , ปัญหาการมองเห็นอาจจะเกิดจากการพักผ่อนน้อย ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป หรือใช้ยาหรือสารเสพติดบางชนิด ก็ไม่ต้องทำอะไร พักผ่อนพักกาย หยุดยา ( ตามวิจารณญาณของแพทย์โรคนั้นๆ ) จะมองเห็นดีขึ้นเอง
 
ดังนั้น ที่กล่าวมาทั้งหมด จึงเป็นเหตุที่ จั่วหัวข้อที่ว่า “ทัศนมาตร ≠ ขายแว่น” เพราะเสมือนโรคที่ยังไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยแต่กลับไปซื้อยารักษาโรคเสียแล้ว นอกจากจะไม่ช่วยแก้ไขที่ต้นเหตุจริงๆ อาจจะทำให้อาการแย่ลงเป็นได้ ดังนั้นหากผู้ใดได้อ่านบทความนี้แล้ว อยากให้มีความเข้าใจเบื้องต้นว่า แว่นตาราคาเริ่มต้น 390 / 590 / 790 / 990 / 1590 /1990 เป็นต้น หรือ โปรโมชั่น Topping upgrade เลนส์แว่นตา เหมือน Topping ขายขนมต่างๆ ซึ่งมีจุดขายเป็นนักทัศนมาตร ผู้ตรวจสายตาฟรี พร้อมโปรโมชั่นกรอบแว่นตานั้น
 
เขาไม่ได้คำนึงถึงคุณภาพการมองเห็นของคุณหรอก เขาสนใจเพียงแค่อยากได้เงินจากกระเป๋าคุณมาซื้อแว่นตาเท่านั้น เพราะทัศนมาตร ที่ respect ในวิชาชีพจริงๆ เขาจะ Start ด้วยการตรวจหาปัญหา ตามด้วยการแนะนำสิ่งที่ดี มีคุณภาพ เพื่อแก้ไขปัญหาให้คุณได้จริงๆ ไม่ใช่ Start ด้วยการ ขายแว่น ใส่เสื้อกาวน์ เคลมว่าตนเป็นหมอ
 
จบ

 

ขอบคุณสำหรับการติดตาม

Chatchawee,O.D,BS.(RT)