คอนเท้นนี้จะมาเล่าให้ฟังเกี่ยวกับเรื่องราวของกรอบแว่นสายตา เพราะเป็นสิ่งที่ต้องวางอยู่บนใบหน้า ผู้ที่มีปัญหาสายตาอยู่ตลอดเวลา จะได้เข้าใจในส่วนขององค์ประกอบโครงสร้าง วัสดุที่ใช้ผลิต รวมไปถึงประเภทของกรอบแว่นตา ว่ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง
ภาพประกอบโครงสร้างกรอบแว่นตาที่เอามาให้ดู (ขอบคุณเครดิต นิตยสารในตำนานอย่าง a day ) ในภาพสรุปให้ทราบถึงองค์ประกอบของแว่นตา ตั้งแต่ช่องใส่เลนส์สายตา หน้าแว่น ขาแว่น แป้นจมูก บานพับ สะพานหรือจมูก และน็อตยึดต่างๆ กดเข้าไปศึกษาตามรูปที่แนบมาได้เลยครับ
กรอบแว่นสายตาแต่ละแบรนด์แม้จะมีโครงสร้างพื้นฐานคล้ายคลึงกัน แต่จะมีความแตกต่างกันในด้าน วัสดุที่ผลิต ซึ่งสวนมากจะเป็นพลาสติก และโลหะ ซึ่งแยกย่อยได้เป็นอีกหลายประเภท ดังนี้
PLASTIC
กรอบแว่นตาพลาสติกสมัยก่อนทำมาจาก bakalite และ galalith แต่เมื่อเจออากาศเย็นจะเปราะแตกได้ง่าย ต่อมาพัฒนาผลิตจาก Cellulose nitrate (zylonite) เพราะเอาไปผลิตขึ้นรูปได้ง่าย แต่ไวไฟมาก เลยถูกแบน จาก องค์การอาหารและยาของอเมริกา อย่างไรก็ตาม zylonite ก็ยังมาถูกนำมาใช้ทำกรอบแว่นตาอยู่ มักจะเรียกว่า กรอบ ‘Zyl’
CelluloseAcetate
เป็นสารสกัดจากผ้าฝ้าย และเยื่อกระดาษ บางคนสวมใส่กรอบชนิดนี้แล้วแพ้ แบรนด์ที่ดี จะเคลือบโค้ตผิวสัมผัสกรอบแว่น เผื่อให้ลดอาการแพ้เวลาสวมใส่ และเคลือบ UV เพื่อไม่ให้สีจางเร็ว
Propionate
ชื่อสามัญว่า Cellulose acetate-propionate คุณสมบัติคล้าย cellulose acetate แต่สีจะซีดได้ช้ากว่า และแบรนด์ที่ดีจะป้องกัน UV ได้ดีมาก สีไม่ค่อยจางผลิตจากของเหลว ใช้ความร้อนหล่อใน เบ้า ให้เป็นของแข็ง เบากว่า 3/4 เท่าของ acetate
OPTYLE
ชื่อสามัญว่า epoxy resin ผลิตโดยผสมของเหลวชนิดหนึ่ง กับ resin และเคลือบให้แข็ง หล่อใน เบ้า โดยใช้หลักการ thermoelastic คือ จะเปลี่ยนรูปร่างได้อยู่เรื่อยๆเมื่อโดนความร้อน ดังนั้นสามารถดัดปรับแต่งได้ เบากว่า cellulose acetate 30 %
Nylon
เป็นวัสดุที่มีความยืดหยุ่นสูงแต่ถ้าโดนน้ำเป็นเวลานานจะเปราะ และเสียสภาพได้ มักใช้ในกรอบแว่นตากีฬา หรือแว่นกันแดดบางชนิด
Rubber
มีความยืดหยุ่น แต่ไม่สามารถปรับแต่งได้ มักใช้ผลิตกรอบแว่นตาใช้เล่นกีฬา โดยมักจะผสม rubber กับ nylon
CarbonFiber
กรอบแว่นตาชนิดนี้ บาง แต่แข็งแรง ผสม nylon มักจะนำมาทำหน้าแว่น ข้อเสียคือถ้าสวมแล้วไม่พอดี ดัดปรับแต่งไม่ได้ ข้อดีน้ำหนักเบา แข็งแรง เบากว่า cellulose acetate 60% เปราะแตกง่ายในอากาศเย็น เป็นวัสดุทึบแสง
Polyamide
เป็น nylon ชนิดแข็งแรง และผลิตให้บางได้มาก เบากว่า Cellulose Acetate 72 % ความบางนี้เป็นจุดเด่นของวัสดุชนิดนี้ วัสดุโปร่งแสง ระคายเคืองผิวน้อยต่อการสวมใส่กรอบแว่นตาชนิดนี้
Kevlar
มีส่วนผสมของ nylon แข็งแรง น้ำหนักเบา อยู่ในอุณหภูมิได้หลากหลาย ดัดปรับแต่งได้เมื่อโดนความร้อนเท่านั้น แต่ความยืดหยุ่นต่ำ
Polycarbonate
มักจะทำให้เลนส์ติดอยู่ในตัวกรอบเลย แต่มีผลิตกรอบแว่นตาเพียงอย่างเดียวด้วย ใช้สำหรับเล่นกีฬา เพื่อความปลอดภัย ป้องกันแรงกระแทกได้สูงมาก
Metals
เป็นวัสดุที่ผลิตด้วยการนำธาตุโลหะสองชนิด หรือ มากกว่า โดยการนำวัตถุหนักมาหลอมเหลวและผสมองค์ประกอบต่างๆ ด้วยความร้อน ทำให้ได้วัสดุแข็งแรง
NickleSilvers
ประกอบด้วย copper มากกว่า 50% nickel 25 % และมี zinc เป็นองค์ประกอบบางส่วน แต่ไม่มี silvers ในส่วนของ copper นั้นให้ความยืดหยุ่น zinc ให้ความแข็งแรง nickel ให้ความขาว ถ้ามีส่วนประกอบ nickel เกิน 12 % จะไม่แสดงสีของ copper อีกชื่อหนึ่งของ nickelsilvers เรียกว่า German silver
Monelmetal
เป็นสีขาว ง่ายต่อการดัดปรับแต่ง ยากต่อการโดนกัดกร่อน ปัดเงาได้ดี ทำมาจาก nickel 63-70 % copper รองลงมา Iron 2.5 % มีส่วนผสมของ silicon carbon sulfur อยู่บ้าง Monel มักนำมาทำเป็นวัสดุหน้าแว่น
Titanium
นำหนักเบามากที่สุด เมื่อเทียบกับวัสดุอื่น มีความบางและเบา แต่ราคาสูงกว่าวัสดุชนิดอื่น
Aluminium
แข็งแรงและน้ำหนักเบา มีหลายสี ไม่ผุกร่อนง่าย มักจะนำมาทำเป็นน็อต และสกรู ของกรอบแว่นตา
StainlessSteel
ใช้นำมาทำกรอบแว่นตามานานแล้ว ตั้งแต่ ศตวรรษที่ 19 จนถึงปัจจุบัน ทำมาจาก iron ทนทานสูง แข็งแรง มักจะทำให้บางลงและยืดหยุ่นได้ง่าย มักจะนำมาทำเป็นขาแว่นตา
ชนิดของกรอบแว่นสายตา
กรอบแว่นตาที่มีช่องว่างให้ใส่เลนส์ที่มีค่าสายตาลงไปและวางอยู่บนใบหน้าคนที่มีปัญหาสายตา มีอยู่ 3 ลักษณะ ดังรูปประกอบ
Fullrim กรอบเต็ม
เป็นกรอบแว่นตาที่เป็นโลหะ หรือ พลาสติก ต้องมีร่องรับสันเลนส์อยู่ภายในกรอบ การตัดประกอบเลนส์ ต้องฝนให้สันเลนส์พอดีกับร่องแล้วใส่เลนส์เข้าไป ชนิด index เลนส์ ที่เหมาะสมคือ 1.50 1.60 1.67 1.74 เพราะมีขอบแว่นป้องกันเลนส์ ดังนั้นใช้ได้ทุก index ซึ่งถ้าเลนส์ทีมีค่าสายตามากๆ index 1.67 1.74 แนะนำให้ใช้กรอบเต็มเล็กๆ จะตัดความหนาบริเวณขอบเลนส์ด้านข้างไปได้มาก
SUPRA/GROOVING กรอบเซาะร่อง
กรอบที่ต้องใช้การฝังเอ็นหรือโลหะ เข้าไปในเนื้อเลนส์มีทั้งที่เซาะร่องฝังโลหะไปรอบๆ เลนส์ หรือ ครึ่งบนเป็นโลหะ ครึ่งล่าง เป็นเส้นเอ็นยึดติดกับเลนส์ เอ็นด้านบนจะยึดติดกับโลหะ ด้านล่างของเลนส์จะเปลือยเห็นความหนาของเลนส์ การฝนประกอบใช้ใบมีดกรีดเซาะเข้าไปในเลนส์โดยรอบให้เป็นร่อง แล้วยึดเลนส์ติดกับกรอบแว่นตา เนื้อวัสดุที่ใช้กับกรอบประเภทนี้ ควรมีความแข็งแรง และเหนียวพอสมควร คือ Polycarbonate index 1.53 หรือ เนื้อ MR 8 index 1.60 ส่วน CR 39 index 1.50 พอใช้ได้แต่ไม่แนะนำ เพราะระยะยาวอาจจะกะเทาะแตกได้ในภายหลัง

Rimless/3-pieces กรอบเจาะ
เป็นกรอบที่ใช้โลหะ 3 ชิ้น เจาะฝังเข้าไปในเนื้อเลนส์ ทั้งในส่วนบาร์จมูก เพื่อยึดเลนส์สายตา 2 ข้าง ให้ติดกัน และส่วนทางด้านบน Temporal หางตา จะเจาะเพื่อฝังขาแว่นเข้าไปทั้งสองข้าง ซึ่งลักษณะรูเจาะของแว่นตาแต่ละแบรนด์ จะมีความแตกต่างกัน ซึ่งเลนส์ที่เหมาะสำหรับนำมาทำกรอบเจาะ ต้องมีความเหนียว คงทนสูง เพื่อป้องกันเลนส์แตก เช่น เนื้อ Polycarbonate index 1.53 หรือ เนื้อ MR8 index 1.60 ส่วน index 1.67 1.74 พอใช้ได้ แต่ไม่เหนียวเท่า 1.53 และ 1.60 ส่วนที่นำมาทำกรอบเจาะไม่ได้เลย คือ เนื้อ CR39 index 1.50

กรอบแว่นตาแบบเจาะเข้าไปในเนื้อเลนส์
ขอบคุณสำหรับการติดตาม
Chatchawee,O.D,BS.(RT)
ผู้สนใจเข้ารับบริการตรวจสายตา และระบบการมองเห็นโดยทัศนมาตร ณ คุณยาย OPTOMETRY ติดต่อนัดหมาย โทรศัพท์ : 062-125-2601
ที่ตั้ง : คุณยาย OPTOMETRY ภายในหมู่บ้าน Wize Signature เลขที่ 345/51 หมู่ 3 ถ.วงแหวนรอบนอก ต.สันปูเลย อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่