ตรวจสายตาและระบบการมองเห็น ตรวจอย่างไร
เชื่อว่า บุคคลทั่วไปได้ยินได้ฟัง มาบ้างว่า ธุรกิจที่เกี่ยวกับแว่นสายตา ใช้คำโฆษณา ประมาณ “วัดสายตาประกอบแว่น ร่วมกับโปรโมชั่นกรอบแว่นตา และเลนส์สายตาชนิดต่างๆ” การสื่อสารทิศทางนี้ ซึ่งทำมานานมากแล้ว เชื่อว่าผู้บริโภคจะเข้าใจว่า มีกรอบแว่นตา และเลนส์แว่นตาเป็นสินค้า การวัดสายตา หรือวัดแว่นเป็นเรื่องรองๆ ไม่ต้อง concern อะไรมากนัก และการวัดสายตาในเชิงพาณิชย์ ทั่วไป ขึ้นกับอัตภาพและความสามารถของบุคลากรในร้านนั้นๆ บางแห่ง ขอให้ได้ค่าสายตา ( ผิดถูกไม่ทราบ ) ใช้เวลาวัดสั้นๆได้เป็นดี เผื่อจะได้ไปทำเรื่องอื่นต่อ คือ เชียร์ขายกรอบแว่น และเลนส์ เรื่องนี้ตามแต่กำลังความสามารถของคนขายแว่นที่จะโน้มน้าว ดึงดูดลูกค้าให้ซื้อกรอบและเลนส์ ข้อมูลถูกผิด จริงไม่จริง ไม่ทราบ ให้ได้เกิดการซื้อขายไว้ก่อน

เรื่องนี้ยกตัวอย่าง พอให้เห็นภาพประกอบ หากใครเคยมีประสบการณ์รู้เห็นมาบ้าง ที่เล่ามาข้างต้นเป็นเรื่องราวของร้านค้าแว่นตาเชิงพาณิชย์ทั่วไป บางแห่ง advance หน่อย หา gimmick มาใช้ร่วม เช่น ใช้นักทัศนมาตร หรือ มักเรียกกันว่าหมอสายตา มาเป็นผู้ให้บริการ สร้าง story บางอย่างของวิชาชีพ เพื่อให้น่าเชื่อถือดึงดูดลูกค้า แต่การทำงานยังเป็นแบบข้างต้นที่กล่าวมา บางที่ไม่ได้ทำแบบนั้นต้องขออภัย เรื่องนี้ไม่ได้ผิดอะไร ไม่มีกฎหมายควบคุม ใครใคร่ค้า ใครใคร่ซื้อ ก็ตามกำลังและความพอใจ
มาที่เรื่องของเรา การตรวจสายตา และระบบการมองเห็นในทางการแพทย์ ตามความเห็นของผม ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติงานของผมอยู่เสมอมา คือการใช้หลักทัศนมาตร ( optometrist ) ที่เป็นสาขาในมหาวิทยาลัยเรียน 6 ปี และต้องสอบใบประกอบโรคศิลปะ โดยจะตรวจหาข้อมูล และใช้เครื่องมือทางจักษุวิทยาที่มีมาตรฐาน และเมื่อได้ข้อมูลซึ่งเป็นตัวเลข ( เชิงปริมาณ ) นำข้อมูลนั้นมาวิเคราะห์ และวินิจฉัยเพื่อแก้ปัญหาให้คนไข้ได้
กระบวนการเริ่มตั้งแต่ การซักถามประวัติ เพื่อให้คนไข้ได้เล่าเรื่องราวปัญหาของดวงตาและสายตาที่มีความทุกข์อยู่ รวมไปถึงข้อมูลด้านอื่น สุขภาพร่างกาย ยาที่รับประทาน ประวัติทางตาของครอบครัว และลักษณะการใช้สายตาในชีวิตประจำวัน เป็นแบบใด ทำให้ได้ทราบข้อบ่งชี้ และดีไซน์การตรวจ ให้เหมาะสม

History Taking
เมื่อทราบข้อข้อมูลและปัญหาคนไข้แล้ว เข้าสู่กระบวนการตรวจ เริ่มตั้งแต่ Preliminary test เช่น Cover test เป็นการตรวจหาตาเหล่ซ่อนเร้น หรือตาเหล่จริงๆ หาค่าประมาณ ความผิดปกติเป็นตัวเลข เพื่อนำข้อมูลไปคอนเฟิร์มด้วยการตรวจที่ละเอียดขึ้น หรือการทดสอบอ่านตัวเลขด้วยตาเปล่า หรือด้วยแว่นอันเดิม เพื่อประเมินประสิทธิภาพการมองเห็นเดิมของคนไข้ก่อนเข้ารับการตรวจในขั้นตอนถัดไป เป็นต้น
ต่อมาการตรวจสายตา Refraction เพื่อให้ได้ค่าสายตา ณ เวลานั้นที่ดีที่สุด เริ่มจากกระบวนการ objective คือใช้เครื่องมือ retinoscope เพื่อประเมินค่าสายตาเบื้องต้น ( ร้านอื่น อาจจะใช้ autorefractor หรือ wavefront aberometer มาใช้สั่งจ่ายเลนส์ให้คนไข้เลย ) หลังจากนั้นใช้ phoroptor ร่วมกับให้คนไข้มองและอ่านตัวเลขหรือตัวหนังสือ โดยใช้การถามและตอบ (subjective refraction ) เพื่อให้ได้ค่าสายตาที่ดีที่สุดที่คนไข้จะมองเห็นได้ในตาสองข้าง ( best visual acuity ) ย่อว่า BVA

Retinoscope & Opthalmoscope
นำค่า BVA ไปเป็นค่าตั้งต้น เพื่อใช้ตรวจการทำงานร่วมกันของตาสองข้าง ( Binocular function ) กล่าวโดยย่อ ว่าค่า BVA คือเลนส์สายตาที่ตรวจได้ วางอยู่ข้างหน้าตาคนไข้ภายในเครื่อง phoropter ตรวจหาว่าเมื่อมองไกล ( สมมุติว่าห้องตรวจระยะ 6 เมตร คือมองไกล ) ดวงตามีการถ่างออก ( Diverge ) และเมื่อมองใกล้ใช้สองตาขมวดเข้า ( converge ) ได้เป็นปกติหรือไม่ หากมีความผิดปกติ อาจจะมีปัญหาตาเหล่ซ่อนเร้น (Phoria) ซึ่งมีความผิดปกติหลายรูปแบบ ลักษณะคือ บางคนอาจจะเห็นว่าตาตรง แต่อาจจะตรงด้วยการบังคับจากเส้นประสาทสมองผ่านมายังกล้ามเนื้อตา กล่าวคือเมื่อการทำงานสองตาไม่เกิดขึ้น โดยที่ปิดตาข้างหนึ่ง ตาจะอยู่ในตำแหน่งสบายของตาข้างนั้น แต่อาจจะไม่ได้อยู่ในตำแหน่งตรง อาจจะเหล่เข้าไปในทางหัวตา เหล่ออกไปทางหางตา เหล่ขึ้นบน เหล่ลงด้านล่าง แสดงว่าต้องมีชุดกล้ามเนื้อตา ที่ต้องพยายามดึงตาให้ตรง และกำลังมากพอที่จะทำให้เมื่อมองแล้ว เกิดการรวมภาพจากสมองและเห็นเป็นภาพเดียว แต่ถ้าตำแหน่งที่ตาอยู่แล้วสบายนั้นไม่ได้ตรง มีมุมเหล่ แต่มีไม่มาก กล้ามเนื้อตาสามารถออกแรงดึง เพื่อให้ทั้งสองตายังทำงานร่วมกันได้ แต่ต้องออกแรงฝืน ธรรมชาติ
ดังนั้นเมื่อการที่ต้องออกแรงชดเชยฝืนอยู่ตลอดเวลา บางคนอาจจะเห็นภาพเดียว แต่อาจเห็นภาพซ้อนได้เป็นบางเวลา บางคนเห็นภาพซ้อนตลอดเวลา ซึ่งก็จะหายเองโดยใช้วิธีปิดตาหนึ่งข้างและ มองข้างเดียว โดยค่าผลตรวจจะแสดงออกมาเป็นตัวเลข ให้วิเคราะห์ต่อว่า ถ้าเห็นเป็นภาพซ้อน และต้องใช้เลนส์ชนิดพิเศษที่เรียกว่าปริซึมนั้น ใช้ปริมาณเท่าไหร่ เมื่อใส่เข้าไปในเลนส์สายตาแล้ว ภาพจะรวมเป็นภาพเดียว ต่างจากตาเหล่ ( Tropia ) ซึ่งกำลังกล้ามเนื้อตาที่ดึงให้ตรง มีไม่พอ และมีมุมเหล่มากเกินไป จะเกิดตาเหล่ คือไม่ตรง เห็นแล้วทราบได้เลยว่าตาเหล่ และตาสองข้างไม่สามารถทำงานร่วมกันได้ เรื่อง tropia นี้เป็นงานเฉพาะ ของจักษุแพทย์กล้ามเนื้อตา
ก่อนจะจ่ายค่าสายตา ( prescription ) ใดๆ มีการคอนเฟิร์มผล ด้วยการตรวจ freespcace อีกครั้งหนึ่งเพื่อให้ผลตรวจนั้นถูกต้อง และใช้งานได้จริง

Visual Acuity
เรื่องราวของการตรวจสายตาและระบบการมองเห็นใน concept ของคลินิกทัศนมาตร คุณยายออพโตเมทรี พอสังเขปมีเท่านี้ ลองอ่านและพิจารณาดู อนึ่ง ผมไม่เห็นด้วยกับการหาผลประโยชน์จากรูม่านตาคนไข้ที่มีขนาดโดยประมาณ 3 – 5 มิลลิเมตร โดยหวังผลแต่ในทางพาณิชย์โดยถ่ายเดียว ทุกวันนี้สื่อโฆษณาเกินจริงมีมาก ได้แต่เปลือกเข้าไม่ถึงแก่น โฟกัสที่สินค้า และพึ่งพาเครื่องมือและเทคโนโลยี ระดับไฮเอนด์นั้นมีมาก เรื่องจริงที่สุดคือตัวผู้ให้บริการ และเครื่องมือมาตรฐาน ร่วมกับ dose ที่ใช้รักษาโรคทางสายตาชนิดต่างๆ ต้องประจุลงไปในกรอบแว่นตาและเลนส์สายตาที่มีคุณภาพสูงเท่านั้น ดังนั้นการตรวจสายตาและระบบการมองเห็นให้ได้งานดี ใช้เวลาเฉลี่ย 2-3 ชั่วโมงเป็นเรื่องปกติ ถ้าได้อ่านเรื่องราวทั้งหมดที่ได้กล่าวมา และแว่นสายตา 1 อัน คาดหวังให้ใช้งานได้นานคุ้มค่ากับการลงทุน ดังนั้นการเสียเวลาตรวจสายตาเป็นหลักชั่วโมง คิดว่าดีกว่าการวัดตา หรือ วัดแว่น 5 – 10 นาที ( วิธีการลวกๆประเภทนี้มีเยอะ ) แล้วต้องกลับมาแก้ไขเคลมเปลี่ยนเลนส์ไม่รู้จบ สุดท้ายแก้ไขไม่ได้ เสียเงิน เสียเวลา ไปเรื่อยๆ เมื่อบุญถึงก็จะเจอผู้ที่สามารถแก้ปัญหาได้จริง จึงจะจบปัญหาได้
เขียนโดย CHATCHAWEE, O.D., BS.(RT)