ตรวจสายตาแบบดิจิทัล VS. แบบธรรมดา แตกต่างอย่างไร?
Phoroptor
จัดเป็นอุปกรณ์การแพทย์ ด้านจักษุวิทยา รูปร่างคล้ายหัวกะโหลก ใช้ตรวจหาความผิดปกติในการหักเหแสง ( Refractive error) ที่เข้าสู่ดวงตา ผ่านกระบวนการถาม และตอบ จากคนไข้ ( Subjective Refraction ) ใช้ร่วมกับ Chart ตัวอักษรที่ระยะ 6 เมตร และ Retinoscope ภายในเครื่องมีตัวเลนส์ ผู้ตรวจทำหน้าที่สับเปลี่ยนเลนส์ เพื่อหาค่าสายตาสั้น ( Myopia ) สายตายาว ( Hyperopia ) และสายตาเอียง ( Astigmatism ) ได้
ใช้ประเมินความสามารถในการเพ่งของคนไข้ ( Amplitude of Accommodation ) เพื่อวินิจฉัยภาวะสายตาชรา ( Presbyopia ) หรือภาวะความผิดปกติอื่นๆ ของระบบการเพ่งของดวงตา นอกจากนี้ยังใช้ตรวจประเมินการทำงานร่วมกันของดวงตาทั้งสอง ( Binocular function ) ทั้งปริมาณความผิดปกติของตาเหล่ซ่อนเร้น ( Vergence ) และ ค่า ปริมาณกำลังของกล้ามเนื้อตาในการรวมภาพ ( Reserve )
ปัญหาค่าสายตาที่ตรวจได้ ( BVA ) ถูกต้อง จะสัมพันธ์กับค่าความสามารถในการเพ่งของดวงตา ( AA ) และการทำงานร่วมกันของตาทั้งสองข้าง ( Binocular function ) ดังนั้น Phoropter ที่ดี จะสามารถตรวจหาค่าต่างๆได้แม่นยำ
Manual phoropter

manual Phoroptor
Digital phoropter

Digital Phoroptor
Manual VS Digital
เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว เครื่อง Manual phoropter ยังมีข้อที่ดีกว่าในแง่ ความ flexible ในการปรับก้านยึด ให้ตัวเครื่อง ไป fit พอดีกับหน้าคนไข้ ซึ่งถ้าใช้งานร่วมกับเก้าอี้ตรวจตา ที่มีพนักพิงศีรษะ จะทำให้ Fix หน้าคนไข้ในขณะตรวจสายตา ได้ดี ในขณะที่ Digital phoropter ส่วนมาก การปรับก้านโยกทำได้ไม่มาก คนไข้จะต้องชะโงกหน้า เข้ามาติดกับเครื่องเอง ดังนั้นในขณะตรวจคนไข้สามารถขยับศีรษะได้เองอย่างอิสระ เรื่องนี้สำคัญต่อผลการตรวจหาค่าต่างๆทางสายตา และระบบการมองเห็น เพราะ การ fix ศีรษะคนไข้ได้ดี จะทำให้ตามองผ่าน center ของเลนส์ บน Phoropter ได้ตลอด ย่อมให้ผลการตรวจที่แม่นยำกว่า ศีรษะที่อาจขยับในเวลาตรวจ
ประเด็นเรื่องผลตรวจ Binocular function ผลตรวจแบบ smooth vergence ด้วยเครื่อง Manual phoropter น่าเชื่อถือกว่า ผลตรวจแบบ step vergence ด้วยเครื่อง Digital phoropter
แต่ไม่ว่าภาพลักษณ์ เครื่องมือ สถานที่ให้บริการทางสายตาดีเพียงใด หากขาดซึ่งองค์ความรู้ในการแก้ปัญหา คงไม่เกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภค
ผลตรวจค่าสายตา และ ปัญหาของระบบการมองเห็นที่ถูกต้อง ย่อมเป็นที่ปรารถนา ของผู้รับบริการ เครื่อง phoropter นั้นเป็นเพียงอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งในการวิเคราะห์ปัญหาดังกล่าว ยังมีอุปกรณ์อีกมากมายที่ใช้ร่วมกัน คอนเท้นต่อๆไปอาจจะได้มากล่าวถึงอุปกรณ์อื่นๆในทางจักษุวิทยา เพื่อให้ข้อมูลกับผู้บริโภค ในมุมมองหลากหลายมิติ ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ก่อนการ ตัดสินใจไปใช้บริการในสถานบริการทางสายตาที่ต่างๆ คอนเท้นนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน โปรดใช้วิจารณญาณในการรับข้อมูล
ขอบคุณสำหรับการติดตามครับ
CHATCHAWEE, O.D. , BS. ( RT )
