คุณ S.N หญิงวัย 41 ปี เข้ามาปรึกษาปัญหาการมองเห็น ด้วยอาการขับรถเวลากลางคืน มองทะเบียนรถยนต์คันอื่น ห่างไป 2 ช่วงคันไม่ค่อยคมชัด เป็นมา 6 เดือน ทำงานมองระยะใกล้ยังพอใช้ได้ แต่มีตาล้าบ้าง แว่นเดิมที่สวมอยู่ ใช้มาประมาณ 3 ปี อาการอื่นๆ มีปวดรอบกระบอกตา และขมับ เป็นๆ หายๆ ถ้าต้องใช้สายตามองใกล้นานๆ พักสายตาอาการจะดีขึ้น อาการนี้เป็นมาประมาณ 6 เดือนเช่นกัน ใช้แว่นสายตาสั้นครั้งแรกตอนอายุประมาณ 20 ปี และสวมใส่แว่นสายตามาตลอดจนปัจจุบัน ไม่เคยผ่าตัดดวงตาใดๆ และไม่เคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณศีรษะ ใช้คอมพิวเตอร์ PC และ Notebook ประมาณ 2 ชั่วโมงต่อวัน ใช้โทรศัพท์มือถือ ประมาณ 4 ชั่วโมงต่อวัน
แว่นเดิม VA@6 เมตร
R. -5.50 D. VA 20/25 -2
L. -6.00 D. VA 20/30 +2
VA@40ซม. With correction
R. 20/25
L. 20/25
BVA on PHOROPTOR
R. -6.00 -0.25 x90 VA. 20/15
L. -6.50 -0.50 x 100 VA. 20/15
BINOCULARFUNCTION ; Normal
NRA +1.50 D. PRA. – 1.50 D. BCC +1.00 D. rely on BCC
SpectacleRX ( test on freespace )
R. -6.00 -0.25 x 95 VA. 20/15
L. -6.50 -0.50 x100 VA. 20/15
ADDITION +1.00 D. VA@NEAR 20/15
ประเมินผล
1. R. Compoud Myopic Astigmatism
L. Compound Myopic Astigmatism
2. Presbyopia
3. Ocular health : Normal
พิจารณาเคส
1. ค่าสายตา ที่ตรวจได้ ปัจจุบัน เป็นค่าสายตาสั้นมาก ที่มีค่าสายตาเอียงปริมาณน้อย ร่วมด้วย อาศาเอียงอยู่ในแนวแกนตั้ง ( ATR ) ตรวจระดับการมองเห็น ได้ 20/15 ทั้งสองข้าง ถือว่าค่าที่ตรวจใหม่ช่วยให้ระดับการมองเห็นดีขึ้น จากแว่นสายตาสั้นอันเดิม ที่มีค่าสายตาสั้นเพียงอย่างเดียว ( ระดับการมองเห็นเดิม ข้างขวา 20/25-2 ข้างซ้าย 20/30+2 ) จึงเป็นเหตุให้ทราบว่า การมองเห็นที่ไม่คมชัดในตอนกลางคืน มาจากค่าสายตามองระยะไกลที่เปลี่ยนแปลงจากเดิม นั่นหมายถึง มีระดับค่าสายตาสั้น เพิ่มมากขึ้น ร่วมกับมีค่าสายตาเอียง
2. ผลตรวจการมองเห็นระยะใกล้ มีค่าสายตา ชราตามอายุ +1.00 D. ( สัมพันธ์กับค่ากำลังการยืดหยุ่นของเลนส์ตา ที่ลดลง NRA +1.50 D. PRA. -1.50 D. ) ค่า ADDITION +1.00 D. ช่วยให้การมองเห็นในระยะใกล้ ดีขึ้น ( จากแว่นเดิม อ่านระยะใกล้ ระดับการมองเห็น 20/25 เป็น 20/15 ) เหตุนี้ จึงเป็นที่มาของอาการมองหรือ ทำงานระยะใกล้ เช่น มองคอมพิวเตอร์ และมือถือ มีอาการล้า และปวดกระบอกตา เมื่อมองใกล้นานๆ
3. สุขภาพตาปกติ
SPECTACLE LENS : Rodenstock รุ่น Cosmolit B.I.G. NORM™ Mono plus 1.10 Solitare® Protect Plus2 1.60
เคสนี้ เลือกจ่ายเป็น SINGLE VISION ที่สั่งค่า addition ได้ถึง +1.10 D. เนื่องจากค่า BCC คนไข้ที่เริ่มเป็นสายตาชรา +1.00 D. เหตุที่จ่ายเลนส์ชนิดนี้ เพราะมีเทคโนโนโลยีที่ชื่อว่า PLUS TECHNOLOGY ใส่ไปในส่วนล่างของเลนส์ ( สั่งค่าได้ +0.50 , +0.80 , +1.10 D. ) ซึ่งในกรณีปกติ ไว้ใช้สั่งจ่ายเพื่อคลายการเพ่งระยะมองใกล้ มีการไล่ระดับค่าสายตาแบบ frequently ในช่วงระยะกลางของเลนส์ ซึ่งแตกต่างจาก PROGRSSIVE LENSES ที่มีการไล่ระดับค่าสายตา เป็นแบบ step ดังนั้นเลนส์ประเภทนี้ จะมีความบิดเบือนส่วนด้านข้างของเลนส์ น้อยกว่าเลนส์โปรเกรสซีฟ

สรุปเหตุที่ผู้ตรวจสั่งจ่ายเลนส์ชนิดนี้มี 2 ประการ
1. คาดหวังการแก้ไขสายตาชราของคนไข้ ระยะใกล้ที่ +1.00 D.
2. คาดหวังเพื่อลดความบิดเบือนด้านข้างให้น้อยกว่าเลนส์โปรเกรสซีฟ เช่น เคสนี้มองไกลข้างขวาสายตามองไกล -6.00-0.25 มองใกล้จะเหลือ -4.90-0.25 ( +0.10 D. ที่เกินมาเล็กน้อยคาดว่า แทบไม่มีผลในแง่การมองเห็น ) คาดการณ์ว่าสายตาลักษณะนี้ ( ค่อนข้างสายตาสั้นมากเวลามองไกล และ เริ่มมีสายตาชราเวลามองใกล้ ) ถ้าสั่งจ่ายโปรเกรสซีฟเลนส์นั้น คนไข้จะรู้สึกถึงความบิดเบือนด้านข้างได้น้อยอยู่แล้ว แต่จ่ายเลนส์ชนิดนี้ คาดว่าสามารถทำให้ความบิดเบือนด้านข้างเลนส์ลดลงได้อีก
SPECTACLEFRAMES : Rodenstock model R 2637-C-5217-135
สรุปและติดตามผล
คนไข้ใช้เวลาปรับสายตา ครึ่งวันหลังจากรับแว่นตาใหม่ไปใช้งานจริง ขับรถกลางคืนมองเห็นคมชัดมากกว่าก่อน ใช้งานสายตาในระยะใกล้ อ่านตัวหนังสือในมือถือ และ คอมพิวเตอร์ได้ชัด อาการตาล้า หรือปวดกระบอกตา รวมถึงขมับ ลดลง หมายถึง ใช้สายตามองในระยะใกล้ได้นานขึ้น
เคสนี้ตรวจตาม Routine และวินิจฉัยเพื่อแก้ปัญหา Chief complain การมองเห็นของคนไข้ เลือกกรอบแว่นตา และ รุ่นเลนส์ให้เหมาะสม คล้ายเลือกยา และปริมาณยาให้สัมพันธ์กับโรค จะรักษาโรคนั้นๆได้
ขอบคุณสำหรับการติดตาม
Chatchawee,O.D.,BS.(RT)