คุณ P.D อายุ 27 ปี ทำงานเป็นอาจารย์สอนภาษาที่สถาบันแห่งหนึ่ง ปัญหาหลักที่มาปรึกษาปัญหา คือเวลามอง หรือ ดูใกล้ ในอุปกรณ์ มือถือ แท็ปเลต นานๆหลายชั่วโมง จะไม่ค่อยชัด เห็นเป็นเงาซ้อนๆ และมีอาการปวดศีรษะไมเกรน ภายหลังใช้สายตาเป็นระยะเวลานานๆ แต่ขณะที่มองไกล หรือ ทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ไม่ต้องใช้สายตาในระยะใกล้เช่น ออกกำลังกาย รู้สึกมองเห็นได้ปกติ คุณ P.D เคยมีประวัติผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติสายตา ด้วย Femtosecond laser หรือ FemtoLasik ( เป็นเลสิค ชนิดที่ใช้เลเซอร์แทนการใช้ใบมีดในการแยกชั้นกระจกตา ) เมื่อประมาณ 1 ปี 3 เดือน ที่ผ่านมา โดยได้กลับไปตรวจติดตามผลที่โรงพยาบาล ภายหลังการผ่าตัด 1 ปี แพทย์แจ้งว่าปกติ มีอาการตาแห้งบ้าง จะใช้ เจลน้ำตาเทียมป้าย บรรเทาอาการ ปัจจุบันเห็นแสงฟุ้งเวลากลางคืนเล็กน้อย ปัจจุบันไม่ได้สวมแว่นสายตาแล้ว ไม่มีประวัติ ได้รับอุบัติเหตุที่ดวงตามาก่อน ไม่มีโรคทางตาอื่นๆ
R. -7.75 -1.25 x180
L. -7.00 – 1.50 x 5
ระดับการมองเห็นด้วยตาเปล่าที่ระยะ6เมตร
R. 20/30 -2
L. 20/30 -1
มองสองตา 20/25 -2
R. 36.45@165 / 37.24@75
L. 36.25@13 / 37.18@103
R. +0.50 -1.25 x120
L. +1.75 -2.00 x 90
ตรวจสายตาจากกระโหลกวัดสายตา
R. +0.50 -1.50 x 85 ระดับสายตา 20/20
L. +2.00 – 2.25 x91 ระดับสายตา 20/20
ระบบการเพ่งและการเหลือบของตา
BCC : +0.25
NRA/PRA rely on BCC ค่าแรงยืดหยุ่นเลนส์ตา +2.25/-1.75
VERGENCE การเหลือบของลูกตา
ตรวจที่ระยะ 6 เมตรได้ผลดังนี้
Associate Phoria : 0
ตาเขซ่อนเร้นในแนวนอน : 0.5 Prism Base IN
กำลังในการเหลือบเข้าของตา : 4/22/3
ตาเขซ่อนเร้นในแนวดิ่ง : 0
ตรวจที่ระยะใกล้ 40 เซนติเมตรได้ผลดังนี้
ตาเขซ่อนเร้นในแนวนอน : 6 Prism Base IN
กำลังในการเหลือบเข้าของตา : 18/30/9
ตาเขซ่อนเร้นในแนวดิ่ง : 0
AC/A Ratio ความสัมพันธ์ระหว่างการเหลือบของตากับระบบการเพ่ง : 2:1
ค่าสายตาที่ตรวจบนเลนส์ทดลอง
R. +0.50 -1.50 x90 ระดับสายตา 20/20
L. +2.00 -2.25 x90 ระดับสายตา 20/20
R. Mixed Hyperopic Astigmatism
L. Mixed Hyperopic Astigmatism
แปลว่า สายตายาวในระยะไกล และมีสายตาเอียงร่วม
2. ระบบการเพ่ง และการเหลือบของตา : ปกติ
3. สุขภาพตา เลนส์ตา จอประสาทตา ปกติ
แนวทางการแก้ไขความผิดปกติทางการมองเห็น
1. แว่นสายตาชั้นเดียว Single vision เต็มกำลังค่าสายตาทั้งหมด
2. Lens Design : Multigressiv Mono2 1.60 CMIQ2 Green Solitare Protect Plus 2 X-tra clean
ก่อนจะกล่าวถึงการพิจารณาเคส จะอธิบายเกี่ยวกับชนิดความผิดปกติการหักเหแสงที่ก่อปัญหาสายตาในเคสนี้ และข้อมูลเกี่ยวกับ LASIK พอสังเขป
๑. Emmetropia หรือสายตาปกติ คือ แสงเมื่อเดินทางผ่านตัวกลางจากระยะอนันต์ ตกกระทบกระจกตา และเลนส์ตา ซึ่งทั้งสองส่วนมีกำลังหักเหแสง แล้วโฟกัสรวมกันเป็นจุด ตกกระทบบนจอรับภาพพอดี
๒. Hyperopia หรือ สายตายาวในระยะมองไกล คือ เมื่อแสงเดินทางจากระยะอนันต์ผ่านตัวกลางตกกระทบ กระจกตา และเลนส์ตา แล้วโฟกัส หลังจอตา
๓. Astigmatism หรือสายตาเอียง เกิดที่กระจกตา หรือ เลนส์ตาก็ได้ แต่มักจะเกิดที่กระจกตาที่ไม่โค้งเป็นทรงกลม จะมีรูปร่างคล้ายรักบี้ ซึ่งสัณฐานความโค้งที่ไม่เท่ากันใน 2 แนวระนาบ เมื่อแสงตกกระทบจะ ไม่รวมเป็นจุด แต่จะเป็นแนวเส้น ( focal line ) ผลต่างจากการหักเหแสงที่เป็นเส้น ใน 2 แนวแกน ทำให้เกิดค่าสายตาเอียงขึ้น
LASIK มีชื่อเต็มว่า Laser – Assisted In Situ Keratomileusis คือการผ่าตัดเพื่อแก้ไขสายตาที่ผิดปกติ เพื่อปรับให้แสงตกกระทบบนจุดรับภาพ บนจอตา พอดี โดยจะใช้ แสงเลเซอร์ ปรับแต่งความโค้งกระจกตาชั้นกลาง ( Cornea Stroma ) ให้เหมาะสม เพื่อแก้ไขให้แสงตกที่จุดรับภาพพอดี
ซึ่งเทคโนโลยี และเทคนิคในปัจจุบันที่มีความแตกต่างกันในแต่ละแบบของการผ่าตัด ซึ่งจะไม่ได้ลงในรายละเอียดในที่นี้ หากท่านใดสนใจสามารถเข้าไปหาข้อมูล ที่มีอยู่มากมาย ว่าควรทำที่ไหนดี ข้อดี ข้อเสีย ควรทำ หรือไม่ ใครเข้าเกณฑ์ ทำได้ หรือไม่ได้ ลองค้นใน search engine ได้ไม่ยากครับ
โดยก่อนแพทย์จะพิจารณาว่าสมควรทำเลสิคได้หรือไม่ ต้องผ่านการตรวจ วิเคราะห์ค่าต่างๆ ทางกายภาพ ของดวงตาก่อน เช่น ความหนากระจกตา กำลังหักเหของกระจกตา และเลนส์ตา ค่าสายตาทั้งหมด ร่วมกับการพิจารณาปัจจัย อื่นๆอีกมากมาย อายุ ความคงที่ของสายตา โรคตาบางชนิดที่ต้องห้ามสำหรับการผ่าตัดเลสิค เป็นต้น
แต่หัวใจสำคัญในการทำนั้น คือ ข้อมูลของกำลังหักเหของกระจกตา และเลนส์ตา รวมไปถึงการตรวจวัดค่าสายตาทั้งหมด จะต้องนำไปคำนวณ เพื่อตั้งค่าเลเซอร์เพื่อปรับ หรือ เจียรความโค้งกระจกตาซึ่งเป็นการกระทำภายนอก ( External Refractive) เมื่อรวมกับกำลังหักเหของเลนส์ตา ( Internal Refractive ) แล้วนั้น ถ้าตกที่จุดรับภาพบนจอตาพอดี ค่าสายตาจึงจะเป็นศูนย์
ส่วนการแก้ไขความผิดปกติของการหักเหแสงโดยใช้เลนส์แว่นตา เป็นการกระทำภายนอกร่างกาย เพื่อให้แสงตกกระทบเลนส์ แล้วโฟกัสที่จุดรับภาพบนจอตาพอดี ซึ่งจำเป็นต้องมาจากการตรวจสายตาที่ถูกต้อง แม่นยำ
เคสนี้เมื่อไปทำ FemtoLasik มาแล้ว ทำให้ความโค้งกระจกตามีกำลังหักเหไม่เท่ากันใน 2 แกน โฟกัสจะไม่รวมเป็นจุด แต่จะเกิดเป็นแนวเส้น Focal line สายตาเอียงจึงเกิดขึ้นมา ทำให้คนไข้เห็นเงาซ้อน และเมื่อผลรวมกระจกตาแบนมากไป จุดโฟกัสไปตกหลังจอรับภาพ ทำให้เกิดสายตายาวในระยะไกล ( Hyperopia )
1. สายตายาว ชนิด Hyperopic Astigmatism ที่เกิดขึ้นมา คนไข้สามารถมองไกล ขับรถ หรือไปทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ไม่ต้องใช้สายตาระยะใกล้ โดยไม่ต้องสวมแว่นก็พอมองเห็นได้อยู่เนื่องจากด้วยอายุ ที่ไม่มาก กำลังเพ่งของเลนส์ตา แรงยังดีอยู่ จึงพอจะเพ่งให้ชัดได้ แต่เมื่อใส่ค่าสายตาในส่วนที่ขาดเหลือหลังการทำเลสิคมา ระดับการมองเห็นระยะไกลอยู่ในระดับปกติ ทั้งสองตา ที่ 20/20 จากเดิมตาเปล่าๆ ข้างขวาระดับการมองเห็น 20/30 -2 ข้างซ้ายระดับการมองเห็น 20/30 -1 มองสองตา 20/25 +2
2. สายตายาว ชนิด Hyperopic Astigmatism ที่ไม่ได้รับการแก้ไข ในการมองระยะใกล้นั้น เป็นสายตาชนิดที่ต้องออกแรงเพ่ง ( Accommodation ) มากที่สุด ในบรรดาความผิดปกติของสายตาทั้งหมด ( มากกว่าสายตาสั้น และ สายตาปกติ ) และจะสังเกตเห็น เงาซ้อนได้มาก เมื่อใช้สายตา ระยะใกล้ ซึ่งเมื่อนำค่าสายตาที่ตรวจเจอทั้งหมด นำมาตรวจระบบการเพ่ง และการเหลือบของลูกตา ( Binocular Function : Vergence & Accommodation) ผลตรวจเป็นปกติทั้งไกลและใกล้ จึงไม่ต้องจ่ายเลนส์ ปริซึม ใดๆ เพียงแต่ต้องใช้ค่าสายตา R. +0.50 -1.50 x 90 L. +2.00 -2.25 x90 ระบบการมองเห็นจะ Relax และการทำงานร่วมกันสองตาจึงจะมองได้ชัดสมบูรณ์ เมื่อมองระยะใกล้ ไม่ต้องใช้กำลังเพ่งของตนเอง ซึ่งจะก่อให้เกิดอาการที่นำพาให้คนไข้เข้ามาปรึกษาดังกล่าวไปแล้วข้างต้นทั้งหมด
3. Lens design : ด้วยเทคโนโลยีที่ใช้ในการสร้างเลนส์ single vision รุ่น Multigressiv Mono2 จากค่าย Rodenstock ตอบโจทย์ปัญหาสายตายากๆระดับนี้ได้เป็นอย่างดี
คุณ P.D ใช้เวลาปรับตัวประมาณ 1 สัปดาห์ สำหรับแว่นสายตา สามารถมอง อ่าน ทำงาน ระยะใกล้ในอุปกรณ์ต่างๆ ได้นานมากขึ้น อาการเงาซ้อนหายไป และภาพคมชัดดี อาการปวดหัวจากการใช้สายตาระยะใกล้ลดลง แต่ภาพที่เห็นมีลักษณะ ผอมลงเล็กน้อย ซึ่งเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ ส่วนการมองไกลขับรถเวลากลางคืนชัดขึ้น กว่าตาเปล่า แต่กิจกรรมอื่นๆ เช่น การออกกำลังกาย ซึ่งการสวมแว่นไม่สะดวกนัก ด้วยตาเปล่าๆนั้นสามารถทำกิจกรรมได้อยู่ โดยรวมแล้วคุณภาพชีวิตดีขึ้น
จุดประสงค์ของผู้เขียน Case Study นี้ไม่ได้สรุป ว่า เลสิค ดีหรือ ไม่ดี แต่ความเห็นส่วนตัว คิดว่าเราจะมองประโยชน์ จากการทำเลสิค ในบริบทไหนมากกว่า ดังเช่นเคสนี้ในอดีต มีสายตาสั้นและเอียง ปริมาณมาก ถ้าไม่สวมแว่นจะมองอะไรไม่เห็นเลย แต่หลังไปทำมา สามารถใช้ชิวิตประจำวันโดยไม่ต้องสวมแว่นตาหนักๆ แต่บางกิจกรรม เช่นการทำงานในระยะใกล้ๆ อาจจะใช้แว่นสายตาเข้าไปช่วย Support ให้ระบบการมองเห็นทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ และเลนส์ไม่ได้น้ำหนักมากเท่าเดิม ก็เป็นสิ่งที่น่าจะยอมรับได้
ซึ่งการทำงานของทัศนมาตร นั้น ผมย้ำอยู่เสมอ ว่าการทำงานภายใต้กรอบจรรยาบรรณวิชาชีพ นั้นสิ่งสำคัญคือการ ตรวจ วินิจฉัย ปัญหาความผิดปกติทางการมองเห็นของคนไข้ทั้งหมด ให้ดีที่สุด และให้โอกาสคนไข้ มีสิทธิเลือกตัดสินใจวิธีการรักษา ที่กระทำแก่ตนเอง ซึ่งในเคสนี้คนไข้เลือกที่จะทำแว่นสายตา เพื่อ Support ในส่วนที่ขาดอยู่ ก็เป็นสิทธิที่คนไข้จะเลือกได้เอง
สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณ และอนุโมทนา คุณ P.D ซึ่งอนุญาตให้นำข้อมูลมาเป็นกรณีศึกษา เพื่อเป็นประโยชน์ แก่ประชาชนทั่วไปผู้สนใจ